วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

งานดอกไม้ที่เชียงราย 2556


1.เทศบาลนครเชียงราย เปิดฤดูการท่องเที่ยว เชียงรายดอกไม้งาม ครั้งที่ 10 นครเชียงราย นครดอกไม้งาม

(5พ.ย.56)ที่อนุสาวรีย์พ่อขุนเม็งรายมหาราช อ.เมืองเชียงราย เทศบาลนครเชียงรายได้มีการเปิดฤดูการท่องเที่ยว จังหวัดเชียงราย นครเชียงราย นครแห่งดอกไม้งาม หวังกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงฤดูหนาวที่จะมาถึง คาดมีนักเที่ยวจะเข้ามาเชียงรายมากกว่าปีที่ผ่านมา

นายวันชัย จงสุทธานามณี นายกเทศมนตรีนครเชียงราย กล่าวว่า เทศบาลนครเชียงรายเตรียมจัดงาน เชียงรายดอกไม้งาม ครั้งที่ 10 นครเชียงราย นครดอกไม้งาม ระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม 2556 ถึงวันที่ 20 มกราคม 2557 เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชียงรายอย่างต่อเนื่อง โดยทางเทศบาลจะได้มีการเนรมิตพื้นที่บริเวณสวนตุง และโคมนครเชียงรายด้วยการประดับตกแต่งในบรรยากาศสวนดอกไม้ การจัดทำประติมากรรมดอกไม้ต่างๆ พิธีเปิดจะมีขึ้นในวันที่ 20 ธันวาคม 2556 นี้

นายกเทศมนตรีนครเชียงราย กล่าวต่อไปว่า นอกจากนักท่องเที่ยวจะได้ชมมวลหมู่ไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์แล้วผู้เข้าชมงานจะได้รับความบันเทิง และสนุกสนาน จะมีการจัดงานดนตรีในสวนร่วมด้วย ซึ่งจะมีพิธีเปิดในวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2556 เวลา 18.00 น. เป็นต้นไป โดยจะเล่นเป็นประจำทุกวันเสาร์ในบรรยากาศสวนดอกไม้ ด้วยการแสดงดนตรี บนเวที จากนักร้องที่มีชื่อเสียง

“กิจกรรมที่ทางเทศบาลจัดขึ้นนอกจากจะเป็นการเพิ่มระยะเวลาการเข้าพักของนักท่องเที่ยวสามารถสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงรายให้มีความยิ่งใหญ่ และเป็นที่ประทับใจแก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย” นายวันชัยกล่าว
แหล่งข่าว : สวท.เชียงราย    / นำเสนอโดย : เชียงรายโฟกัสดอทคอม


2.Chiangrai ASEAN Flowers Festival 2013
จังหวัดเชียงราย ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงราย
หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนชาวเชียงราย
ได้กำหนดจัดงาน "มหกรรมไม้ดอกอาเซียนเชียงราย 2013" (Chiangrai ASEAN Flowers Festival 2013)
ระหว่างวันศุกร์ ที่ 20 ธันวาคม 2556 ถึงวันอาทิตย์ ที่ 5 มกราคม 2557 
รวม 17 วัน 17 คืน ณ สวนไม้งามริมน้ำกก
เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงราย
การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีล้านนาและการเป็นแหล่งผลิตไม้ดอกไม้ประดับที่มีคุณภาพ
ตลอดจนเปิดโอกาสให้กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มอาชีพต่างๆ นำผลผลิตและผลิตภัณฑ์OTOP มาจำหน่ายสร้างรายได้และแลกเปลี่ยนสินค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน
พร้อมทั้งเป็นจุดเชื่อมโยงในการรองรับเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โดยกิจกรรมสำคัญภายในงาน ประกอบด้วย การอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ(พระทันตธาตุ)จากประเทศภูฎาน มาประดิษฐานในบริเวณงาน เพื่อให้นักท่องเที่ยวจากทั่วประเทศได้เคารพสักการะเพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต
สวนไม้ดอกเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็กพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ
ขบวนบุปผชาติทางน้ำที่สวยงาม อุทยานไม้ดอกไม้ประดับนานาพันธุ์ 
การประกวดมิสอาเซียน กาดมั่วครัวล้านนา
หมู่บ้านหิมะ ครั้งแรกในเชียงรายกับเวทีกลางน้ำแสดงประวัติพ่อขุนเม็งรายมหาราช(พญามังราชมหาราช) การแสดงแสงไฟ 3 ชุด สุดอลังการ The River of Life , The Bridge of Life และแสงแห่งศรัทธา ซึ่งเป็นการแสดงครั้งแรกในเชียงรายอีกเช่นเดียวกัน การประกวดโป๊ยเซียนระดับประเทศ การจำหน่ายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ ผลิตภัณฑ์ชุมชน OTOP และพลาดไม่ได้กับกิจกรรม COUNTDOWN ปีใหม่ พ.ศ.2557 
credit : http://www.flower.chiangraipao.go.th/

วัดพระธาตุดอยปูเข้า หรือวัดพระธาตุภูเข้า






วัดพระธาตุดอยปูเข้า หรือวัดพระธาตุภูเข้า

บ้านสบรวก หมู่ที่ ๑ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
(ตามเส้นทางเชียงแสน - สบรวก แยกซ้ายก่อนถึงสามเหลี่ยมทองคำเล็กน้อย ) สร้างขึ้นบนดอยเชียงเมี่ยง ริมปากน้ำรวก
เมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๒ ในสมัยพระยาลาวเก้าแก้วมาเมือง กษัตริย์องค์ที่ ๒ แห่งเวียงหิรัญนครเงินยาง โบราณสถานประกอบด้วย
พระวิหาร และกลุ่มเจดีย์ที่พังทลาย ก่อด้วยอิฐมีร่องรอยการตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น 
นอกจากนี้บนดอยเชียงเมี่ยงยังเป็น
จุดชมวิว สามารถมองเห็นสามเหลี่ยมทองคำได้ชัดเจน
วัดพระธาตุดอยปูเข้า หรือวัดพระธาตุภูเข้าตั้งอยู่บนดอยริมแม่น้ำโขง 
มีมณฑปอยู่บริเวณกึ่งกลางของวัด ล้อมรอบด้วยเจดีย์
ขนาดเล็ก ๕ องค์ ด้านหน้าเป็นวิหาร มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ๒ ชั้น 
มีบันไดทางขึ้น ๓ ด้าน ยกเว้นด้านทางทิศตะวันตก ตาม
จากรูปแบบทางสถาปัตยกรรมสันนิษฐานว่า มีอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙

ประวัติวัดพระธาตุภูเข้า จากพงศาวดารเงินยาง เชียงแสน ตำนานสิงหนวติ รวบรวมโดย NOOKFUFU2
ตามตำนานเก่าแก่ประวัติวัดพระธาตุภูเข้า หรือปูเข้า พอสังเขป เมื่อาณาจักรโยนกไชยบุรีศรีช้างแสนล่มสลาย 
ในราวปี พ.ศ.๑๐๐๓ ชาวบ้านที่เหลืออยู่ภายรอบนอกแห่งนคร จึงพากันสร้างเมืองใหม่ 
ชื่อเวียงปรึกษา และได้ย้ายมายังริมแม่น้ำโขง ที่ตั้งเมือง เชียงแสนปัจจุบัน

ในราวปี พ.ศ. ๑๑๘๒ ลวะจังกราชเทพบุตรได้รับอภิเษกให้ปกครองเมือง เหรัญนครเงินยางไชยบุรีเชียงแสนครึ่งหนึ่ง ๖ ปีต่อมา
เหล่าท้าวพระยาเสนาอำมายต์ราชบัณฑิตทั้งหลาย ก็พากันสถาปนาพระองค์ให้เป็นใหญ่ครองทั้งเมือง 
และทรงพระนามใหม่ว่า ลวะจังกราชเอกกษัตริย์ เป็นกษัตริย์องค์แรก
จากนั้นพระองค์ทรงมีพระราชบุตร ๓ พระองค์ องค์แรกนามลาวกอ(ก่อ) องค์ที่ ๒ นามลาวเกือ(เกื้อ) องค์ที่ ๓ นามลาวเกลา(เก้า)
ในเวลาที่พระโอรสทั้ง ๓ ยังทรงประเยาว์อยู่ ขณะนั้นยังมีปูตัวใหญ่เท่ายุ้งข้าวมีลูก ๒ ตัว เวลากลางคืนมันพาลูกออกเที่ยวหากิน
กัดข้าวกล้าในนาเสียหาย ใช้ก้ามคีบช้างคีบโคกระบือตายวายวอด จนชาวบ้านได้รับความเสียหายเดือดร้อนเป็นอันมาก
พระมหากษัตริย์ผู้เป็นบิดาทรงรับสั่งให้พระโอรสทั้ง ๓ ไปกำจัดปู ๓ แม่ลูกกุมารน้อยทั้ง ๓ ก็พากันไปตามลำน้ำ
ตามรอยปูขึ้นไประหว่างเขา แห่งหนึ่ง เห็นปูอยู่ในถ้ำ ผู้พี่ทั้ง ๒ พระองค์จึงช่วยกันขุด ให้น้องสุดคนสุดท้องไปดักรอเอาสวิงรออยู่ใต้น้ำ
จนกระทั่งพลบค่ำก็ยังขุด ไม่สำเร็จเพราะรูหินนั้นแข็งมาก จึงเอาก้อนหินใหญ่ปิดทับไว้แล้วชวนกันกลับวัง 
โดยมิได้เรียกองค์น้องกลับมาด้วย ส่วนลาวเกลาองค์น้องคนเล็กที่รออยู่เป็นเวลานานเกิดความสงสัยจึงขึ้นไปดูก็ไม่พบพี่ทั้งสอง 
มีแต่ก้อนหินทับปิดรูอยู่ จึงกลับมาเล่าเหตุการณ์ให้พระราชบิดาทรงทราบ พระองค์ทรงตำหนิและสั่งสอนพระโอรสผู้พี่ทั้งสอง 

ต่อมาลาวเกลาได้เรียกรี้พลโยธาอาวุธครบมือขึ้นไปขุดรูปูลึกลงไปราว ๓๐๐ ศอก ก็ถึงที่อยู่ของปู ลูกปูตัวหนึ่งวิ่งออกมาเลยถูกฆ่า 
ตายและถอนเอาก้ามไปทำกลอง ส่วนแม่ปูและลูกปูอีกตัวกระดองแข็งมากฟันแทงไม่เข้า ได้ออกมาไล่ฆ่าไพล่พลจนล้มตาย
แล้วหนีเข้าถ้ำลึกลงไปถึงริมแม่น้ำโขง ส่วนที่เหลือก็พยายามติดตามไล่ฆ่า แต่ก็ไม่สามารถฆ่าปูสองแม่ลูกนี้ได้ จึงพากันกลับ

กาลต่อมาพระเจ้าลวะจังกราชทรงรับสั่งให้ลาวกอไปอยู่เมืองม้าเชียงของ(บางที่ว่าไปอยู่บ้านถ้ำ) 
องค์ที่สองนามลาวเกือให้ไปอยู่ เมืองยอง(บางที่ว่าไปอยู่เมืองผาพวง) ส่วนลาวเกลาองค์เล็กให้อยู่เวียงเหรัญนครเงินยางเชียงแสน 
เพื่อเป็นรัชทายาทสืบทอดราชบัลลังค์ต่อไป

ครั้นเมื่อลวะจังกราชเอกกษัตริย์ทรงสวรรคตลาวเกลาได้เถลิงถวัลย์ราชบัลลังค์ ในราวปี พ.ศ. ๑๓๐๒ และเมื่อทรงครองพระราช
สมบัติแล้วพระองค์เป็นผู้มีจิตศรัทธา เลื่อมใส ในบวรพุทธศาสนา จึงได้มาสร้างพระสถูปเจดีย์ ณ จอมดอยที่ปูเข้านี้ บางคนเรียก 
ดอยเชี่ยงเมี่ยง ด้วยเหตุว่าเมื่อกาลสมัย ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ 
พระองค์ทรงเสด็จมากระทำภัตตกิจ(ฉันภัตตาหาร) เสร็จแล้ว(บ้วนปาก)ภู่ลงไปยังฝั่งแม่น้ำ และมอบพระเกศาธาตุไว้ที่นี่เส้นหนึ่ง 
แล้วพระพุทธองค์ยังทรงทำนายว่าที่นี้ต่อไป จัดได้ชื่อว่าดอยภูเข้า ว่าดังนั้น
ด้วยเหตุนี้พระเจ้าลาวเก้าแก้วจึงได้มาสร้างมหาเจดีย์สวมครอบพระธาตุเจ้า ณ ที่แห่งนี้

เมื่อเสร็จสมบูรณ์แล้วพระองค์ทรงทำบุญให้ทาน ฉลององค์พระธาตุเจดีย์เป็นการใหญ่ ชนทั้งหลายจึงขนานนามสถานที่แห่งนี้ว่า 
พระธาตุดอยภูเข้านั่นแล พระเจ้าลาวเก้าแก้วมาเมืองเสวยราชได้ ๑๒ ปี อายุ ๘๐ พรรษา ในราบปี พ.ศ. ๑๓๑๕ ก็เสด็จสวรรคต